แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT) ตัวชี้วัดที่ 9 และตัวชี้วัดที่ 10

        ***************************************

ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล

ข้อ

ข้อมูล

องค์ประกอบด้านข้อมูล

มี

ไม่มี

รายละเอียด/URL

คำอธิบาย

การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

O30

การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

 

 

การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

-แสดงรายงานผลการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน

-มีข้อมูลผลการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วม อย่างน้อยประกอบด้วย

(1) ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม

(2) สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม

(3) ผลจากการมีส่วนร่วม

(4) การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน

เป็นการดำเนินการในปี พ.ศ. 2566

/

 

 

 

 

ช่องทางการติดต่อ

- เมนูร้องเรียน/สอบถามบนเว็บไซต์คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน ประกอบด้วย

1. ร้องเรียน/อุทธรณ์

2. ระบบจัดการข้อร้องเรียน

3. เสนอแนะ/สอบถาม

4. ผังประสานกรณีฉุกเฉิน

5. รับคำปรึกษาทางวิชาการ

ช่องทางประชาสัมพันธ์

-เว็บไซต์คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน

-เว็บเพจคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน

กิจกรรมการมีส่วนร่วม

- คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน

จัดพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยทักษิณ กับ สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และ เสวนาเรื่อง " บทบาทของสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กับการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร " ในวันศุกร์ ที่ 24 มีนาคม 2566 โดย นายศรัณย์พงศ์ ฟุ้งเกียรติ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ และนายวิชิต นันทวรวัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำนโยบาย สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย อาคารบริหารและสำนักงานกลาง

มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง และมีการรับฟังข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นในการขับเคลื่อนกิจกรรมความร่วมมือเพื่อช่วยเหลือและพัฒนาเกษตรกร จากตัวแทนเกษตรกรจากจังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสตูล จำนวน 200 คน โดยสรุปดังนี้

1. สภาเกษตรกรแห่งชาติ จะเป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันราคาผลผลิตเกษตรที่ตกต่ำกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กระทรวงพาณิชย์ กรมการค้า รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2. สภาเกษตรกรแต่ละจังหวัดจะเป็นผู้ประสานงานในการทำกิจกรรมหรือข้อเสนอของเกษตรกรเพื่อขอรับการปรึกษา สนับสนุนระหว่างเกษตรกรกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ และคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน

3. คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน จะเป็นหน่วยงานหลักในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้คำปรึกษาทางการเกษตร รวมทั้งผลักดันให้มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ทางด้านการเกษตร

- คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน ขอความร่วมมือนิสิตทุกคน ทุกชั้นปี ประเมินการเรียนการสอน ผ่านระบบประเมินการเรียนการสอน (ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565) ในระหว่างวันที่ 1 มีนาคม - 2 เมษายน 2566 เพื่อนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนิสิตไปใช้ประกอบการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน

- วันที่ 26 มกราคม 2566 เวลา 9.00 น.

ผศ.ดร. สุรศักดิ์ คชภักดี คณบดี ผศ.ดร.สุขุมาล หวานแก้ว รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและพัฒนานิสิต และ ผศ.ดร นันทิยา พนมจันทร์

ร่วมต้อนรับนายอุดม อินต๊ะวัย ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีพัทลุงและคณะ ในโอกาสที่มาหารือ เพื่อจัดทำความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ กับ วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีพัทลุง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยจะมีประเด็นความร่วมมือประกอบด้วย

1. การจัดทำหลักสูตรต่อเนื่อง

2. การแลกเปลี่ยนบุคลากร

3. การพัฒนาสมาร์ทฟาร์มและศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้านนวตกรรมการเกษตร

คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน ดำเนินงานตามพันธกิจหลัก ด้านการจัดการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการ รวมทั้งการบริหารจัดการ โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม จากชุมชน  หน่วยงานภาครัฐ  ภาคเอกชน  ผู้ประกอบการ รวมทั้งบุคลากร นิสิต และบุคลากรหน่วยงานอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัย  ในการร่วมกันวางแผน ออกแบบการทำงาน เสนอแนะและความคิดเห็นในการดำเนินการผ่านกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ทั้งช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ การประชุมปรึกษาหารือ การเสวนา