• คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน   จัดตั้งขึ้นโดยมติของสภามหาวิทยาลัยทักษิณ ในการประชุมครั้งที่ 8/2540   เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม  2540  โดยใช้ชื่อ  “โครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีการเกษตร”  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบุคลากรในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานทางวิชาการที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศไทย ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่  9 และ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน ได้เปิดรับนิสิตระดับปริญญาตรีเป็นครั้งแรกในหลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ ในปีการศึกษา 2545


  •  ต่อมาในการประชุมสภามหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 4/2546 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม  2546 มีมติให้เปลี่ยนชื่อเป็น “คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน” และจัดการเรียนการสอนโดยอาศัยหลักปรัชญา   “ยึดคนเป็นศูนย์กลาง สาขาวิชาต้องรับใช้ชุมชนและสังคม สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการระดับสากล บนพื้นฐานของสังคมไทย” โดยแบ่งรายวิชาออกเป็น 2 หมวดวิชาที่สำคัญ 

 

          หมวดแรก เป็นรายวิชาความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์  เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ รู้กว้าง มีคุณธรรมจริยธรรม และมีจิตวิญญาณของการนำความรู้ที่เหมาะสมไปพัฒนาชุมชนและสังคม

        หมวดที่สอง เป็นรายวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้  ความชำนาญ และมีทักษะในการปฏิบัติงาน โดยมีปรัชญา คือ เทคโนโลยีเหมาะสม สังคมพัฒนา ด้วยปัญญา และจริยธรรม และวิสัยทัศน์ คือ แหล่งผลิตบัณฑิต องค์ความรู้ นวัตกรรมด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ชั้นนำของภูมิภาคภาคใต้ บูรณาการเทคโนโลยีกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน


คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานวิชาการของมหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีภารกิจหลัก 4 ด้าน ประกอบด้วย ภารกิจหลัก คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

  • ด้านการผลิตบัณฑิต มีภารกิจหลักในการจัดการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรี จำนวน 3 หลักสูตร  ได้แก่  

                 1) หลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาสัตวศาสตร์
                 2) หลักสูตร วท.บ.สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
                 3) หลักสูตร วท.บ.สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและพัฒนาชุมชน

  • ด้านการวิจัย มีภารกิจด้านการบริหารจัดการโครงการวิจัย การผลิตผลงานวิจัย ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยและนำองค์ความรู้จากการวิวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน  พัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและประเทศชาติ
  • ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีภารกิจในการสืบสานงานศิลปะและวัฒนธรรม ผ่านโครงการ/กิจกรรมเพื่อพัฒนานิสิตและบุคลากรของคณะ
  • ด้านการบริการวิชาการ มีภารกิจในการให้บริการวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลากหลาย